หาวบ่อย

หาวบ่อย ลักษณะแบบไหนที่ผิดปกติ

หาวบ่อย หรือการหาว เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายมีการอ้าปากและสูดหายใจเข้าลึก ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยความเหนื่อย ความง่วง หรือเมื่อยล้า การต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นของร่างกาย การหาวอาจเกิดได้จากการพูดถึงหรือการเห็นผู้อื่นหาว มีแนวคิดว่าที่มนุษย์หาวตาม ๆ กัน (contagious yawn) อาจเป็นการสื่อสารทางสังคมของมนุษย์ชนิดหนึ่ง อาการหาวมากผิดปกติคือมีการหาวมากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งนาที ซึ่งอาจเกิดจากความง่วง หรืออาจถูกกระตุ้นจากโรคหรือภาวะต่างๆ ก็เป็นได้

สาเหตุและวิธีรักษาอาการหาวบ่อย

  • ความง่วง เหนื่อยล้าจากการนอนหลับไม่เพียงพอ

การนอนหลับไม่เพียงพอนั้นสามารถเกิดได้จากระยะเวลาการนอนหลับที่สั้นเกินไป หรืออาจเกิดจากการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในขณะที่นอนหลับ อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ในอนาคต การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถส่งผลอื่น ๆ ต่อร่างกายได้ เช่น ไม่มีสมาธิ ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ช้า รู้สึกอยู่ไม่สุข เซื่องซึม ไม่ต้องการทำอะไร หรือเหนื่อยเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย หากสงสัยว่าตนมีภาวะนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบการนอนหลับ (sleep test)

  • ผลข้างเคียงจากยา เช่น กลุ่มยานอนหลับ ยาช่วยคลายกังวล ยาต้านซึมเศร้า ยาแก้ปวดบางชนิด
  • การหาวมากผิดปกติยังอาจเกิดจากโรคทางกายอื่นๆ ได้ เช่น
    • ภาวะเลือดออกบริเวณในหรือรอบๆ หัวใจ หรือโรคหัวใจ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดร้าวไปแขนหรือคอ หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ วิงเวียน หน้ามืด
    • มะเร็งหรือก้อนเนื้อในสมอง เกิดการกดเบียดทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงต้องการการหาวเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ชาหรืออ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปัญหาด้านการมองเห็น ปัญหาด้านความจำ เป็นต้น
    • โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเช่นกัน จะมีอาการชา อ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด เดินเซ มีการมองเห็นผิดปกติ หรือวิงเวียนร่วมด้วย
    • โรคลมชัก เกิดการนำกระแสประสาทผิดปกติในหลายส่วนหรือทั้งหมดของสมอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในบางครั้งกระแสประสาทผิดปกตินี้เกิดในสมองส่วนที่ควบคุมการหาว จึงทำให้เกิดการหาวที่ผิดปกติร่วมด้วยได้
    • โรคปลอกประสาทอักเสบ (multiple sclerosis) ทำให้เส้นประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกายเสียหาย ไม่สามารถควบคุมร่างกายบางส่วนได้ หรืออาจเกิดจากความเหนื่อยเพลียและควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ได้ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยปลอกประสาทอักเสบ โดยผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยเพลียมากผิดปกติ ชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มที่ลำตัว ใบหน้า แขน ขา การมองเห็นผิดปกติ วิงเวียน เดินหรือทรงตัวลำบาก เป็นต้น
    • ภาวะตับวาย มักพบในรายที่อาการรุนแรงเนื่องจากจะทำให้อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว สับสน รู้สึกง่วงมากในช่วงกลางวัน บวมตามลำตัวหรือแขน ขา
    • ภาวะร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการหาวเป็นวิธีหนึ่งที่ร่างกายใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิ หากร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ เช่น มีโรคประจำตัวบางชนิด การใช้ยาบางชนิด ในผู้สูงอายุ อาจเกิดการหาวผิดปกติเพื่อเป็นการช่วยในการควบคุมอุณหภูมิกายอีกวิธีหนึ่ง

การสังเกตตนเองและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาภาวะทางกายต่างๆ เหล่านี้ได้

วิธีแก้ไขอาการหาวบ่อยเบื้องต้นด้วยตนเอง

  • หายใจลึกๆ จะช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย สามารถลดการหาวได้ในผู้ที่การหาวเกิดจากร่างกายต้องการออกซิเจน หรือในกรณีหาวติดต่อกับผู้อื่น (contagious yawn)
  • เคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกายสามารถกระตุ้นระบบประสาทและสมองได้ สามารถลดการหาวในผู้ที่การหาวเกิดจากความเหนื่อยล้า เบื่อ หรือความเครียดได้
  • เพิ่มความเย็นในร่างกาย เช่น การเดินไปยังบริเวณที่อากาศเย็นและถ่ายเท ดื่มน้ำเย็น หรือกินอาหารว่างเย็นๆ  เช่น ผลไม้แช่เย็น

ควรพบและปรึกษาแพทย์เมื่อมีการหาวบ่อยมากกว่าปกติและมีอาการอื่นที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการทางกายที่ผิดปกติอื่นๆ

การรักษาอาการหาวบ่อย

  • การหาวที่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือความเหนื่อยล้า สามารถใช้วิตามินเสริมช่วยลดความเหนื่อยล้าได้ ในผู้ที่ขาดวิตามิน
  • การหาวผิดปกติที่เกิดจากปัญหาด้านการนอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับอาจแนะนำแนวทางเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น เช่น การเข้านอนเป็นเวลาเดิมในทุก ๆ คืน การใช้อุปกรณ์ช่วยการหายใจขณะนอนหลับ การออกกำลังเพื่อลดความเครียด หรือการใช้ยาในรายที่จำเป็น เป็นต้น
  • การหาวผิดปกติที่เกิดจากยา แพทย์จะพิจารณาลดขนาดยาลงหรือหยุดยาที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควรปรับหรือหยุดยาด้วยตนเอง
  • การหาวที่เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาที่ตัวโรค ซึ่งจะทำให้อาการหาวผิดปกติดีขึ้นได้

หาวบ่อย

หาวบ่อย เป็นสัญญาณบอก 10 โรคนี้

1. โรคนอนไม่หลับ

อย่างที่บอกว่าอาการหาวจะเกิดขึ้นเพื่อปลุกให้เราสดชื่น ตื่นตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นข้อสันนิษฐานแรกอาจเดาว่าอาการหาวบ่อย ๆ เป็นเพราะอาการนอนไม่หลับก่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองร่วมด้วยนะคะ ว่าเรานอนไม่หลับจริงไหม เช่น มักจะสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตอนกลางวัน โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย

 2. โรคลมหลับ (Narcolepsy) 

โรคลมหลับเป็นโรคที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และผู้ป่วยมักจะมีภาวะหลับกลางอากาศแม้กระทั่งทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ โดยสาเหตุของโรคนี้แพทย์สันนิษฐานกันว่าอาจมีความผิดปกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น ซึ่งก่อนจะเดาว่าอาการหาวบ่อยของเราส่อถึงโรคนี้ ก็อยากให้เช็กอาการของโรคลมหลับก่อน เช่น นอนเท่าไรก็ไม่พอ รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา มีอาการง่วงนอนพร้อมกับภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง (แขน, ขา) ขณะกำลังจะตื่น หรือเห็นภาพลวงตาช่วงใกล้จะหลับ (ภาวะผีอำ)

3. นอนกรน

แม้ภาวะนี้จะไม่ใช่โรค แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทบกับสุขภาพการนอนหลับของร่างกายมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะคนที่นอนกรนมักจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือเรียกง่าย ๆ ว่านอนหลับไม่สนิทนั่นเอง ดังนั้นจึงมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ จนต้องแสดงอาการหาวบ่อย ๆ ไปด้วย ทว่าอาการนอนกรนสามารถรักษาให้หายได้นะคะ ดังนั้นใครรู้ตัวว่านอนกรนจนบั่นทอนสุขภาพอยู่ตอนนี้ ก็รีบเข้ารับการรักษาอาการนอนกรนกันดีกว่า

4. โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

โรคอ่อนเพลียเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของกลไกในร่างกาย ซึ่งยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ทว่าที่เราจะเห็นได้ชัดคืออาการของผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ที่จะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อีกทั้งมักจะมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น และง่วงในช่วงกลางวันจนต้องหาวบ่อย ๆ ได้

5. โรคอ้วน

คนอ้วนมักจะมีความไม่คล่องตัวสูง การเคลื่อนไหวร่างกายจะทำได้ช้ากว่าปกติ และโดยส่วนมากก็ไม่ค่อยจะอยากเคลื่อนไหวร่างกายกันสักเท่าไรด้วย ดังนั้นแน่นอนว่าความเบื่อ ความง่วง อาการเพลียมักจะเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้มากว่าคนที่มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐาน นำมาซึ่งอาการหาวบ่อย ๆ ตามมาได้ ที่สำคัญภาวะน้ำหนักเกินยังเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด ทั้งโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจด้วยนะคะ

6. โรคลมชัก 

โรคลมชัก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณผิวสมอง โดยกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดอาการลัดวงจร หรือทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้มีความผิดปกติทางระบบประสาทจนผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งอาการหาวบ่อยก็เป็นหนึ่งในความผิดปกติของผู้ป่วยโรคลมชักเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยว่าเราป่วยโรคลมชักหรือไม่อีกทีนะคะ เพราะจริง ๆ แล้วโรคลมชักมีความซับซ้อนของอาการแสดงอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจโดยแพทย์อย่างละเอียดอีกที ซึ่งเราก็จะได้รู้วิธีดูแลรักษาตัวเองให้หายจากอาการป่วยด้วย

7. เนื้องอกในสมอง

อาการหาวบ่อยในบางกรณีเกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท อย่างโรคเนื้องอกในสมองก็เช่นกันค่ะ โดยผลการวิจัยจากวารสาร Neurosurgery and Psychiatry พบว่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมองมักจะมีอาการหาวบ่อย ดูเซื่องซึม ซึ่งเขาก็สันนิษฐานกันว่าอาจเกิดจากระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวถูกกดทับ ทำให้เลือดส่งออกซิเจนมาเลี้ยงสมองได้อย่างลำบาก จนร่างกายต้องรับออกซิเจนเพิ่มด้วยการหาวบ่อย ๆ นั่นเอง

8. โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS 

โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS (multiplesclerosis) เกิดจากเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลืองถูกกระตุ้นจากสารบางชนิดให้เข้าไปทำลายปลอกประสาทในสมอง ซึ่งตัวปลอกประสาทของสมองนั้นมีหน้าที่ส่งต่อกระแสประสาทให้เกิดการเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว ทว่าเมื่อเกิดการอักเสบที่ปลอกประสาทแล้ว การนำกระแสประสาทในร่างกายก็จะทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดเป็นอาการผิดปกติต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นก็คืออาการหาวบ่อยจนผิดสังเกตนี่แหละค่ะ

9. ตับวาย

อาการหาวบ่อยจะพบในผู้ป่วยโรคตับวายในระยะที่อาการเริ่มรุนแรงแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ จึงเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ได้ ซึ่งจะว่าไปแล้วอาการหาวบ่อยในผู้ป่วยตับวาย ก็ไม่ถือว่าอันตราย และยังอาจเป็นวิธีช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้นได้ด้วยนะคะ

10. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

อาการนี้อันตรายและต้องสังเกตให้ดีค่ะ เพราะหากมีอาการหาวบ่อยผิดปกติร่วมกับรู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจได้สั้นลง ตัวซีด ตัวเขียว ให้รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่สะดวกจนเกิดความผิดปกติและอาจอันตรายถึงชีวิตได้

โดยนอกจากอาการหาวบ่อยจะบอกโรคดังกล่าวได้แล้ว ภาวะหาวบ่อยยังอาจเกิดจากประเด็นเหล่านี้

  • ภาวะเครียด สมองล้า อ่อนเพลีย

สำหรับคนที่มักจะหาวบ่อยในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ ใกล้เวลาเลิกงาน และยังคงมีอาการหาวต่อเนื่องไปจนถึงหัวค่ำ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้รู้สึกง่วงนอน อาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจแสดงถึงความเครียด ความอ่อนล้าของสมองจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่นั่งทำงานนาน ๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย การอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ แบบนี้จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานไม่สะดวก สมองก็จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายต้องเปิดปากหาวเพื่อรับออกซิเจนเพิ่มเติม

  • ผลข้างเคียงจากยา

โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการทางจิตเวช เช่น ยาต้านเศร้า ยารักษาอาการวิตกกังวล อาจมีผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยง่วงซึมท้งวัน และเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ให้เห็นได้ หรือยากลุ่มรักษาอาการภูมิแพ้ (ยาแก้แพ้) บางชนิดก็ก่อให้เกิดอาการง่วงหนักมากได้เช่นกัน

  • หาวบ่อยเพราะอาหาร

อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายง่วงซึม ซึ่งในที่นี้หมายถึงการกินน้ำตาลและแป้งในปริมาณที่มากจนเกินไปนะคะ เนื่องจากเมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไปมาก ตับอ่อนก็จะส่งอินซูลินออกมาเพื่อย่อยน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดอาการง่วงงุนตามมา

วิธีแก้อาการหาวบ่อย

  • ดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เลือดอีกทาง และการดื่มน้ำเปล่ายังจะปลุกความสดชื่นให้ร่างกายด้วย
  • เคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะตอนที่หาว ให้ลุกไปเดินเล่น เปลี่ยนบรรยากาศให้ตัวเองสักหน่อย
  • สูดหายใจเข้าลึก ๆ บางทีความเผอเรออาจทำให้เราหายใจไม่เต็มปอดได้ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ดังนั้นสูดลมหายใจลึก ๆ เข้าไว้ค่ะ
  • ออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี ไม่แออัดไปด้วยผู้คน ยิ่งหากเป็นพื้นที่ที่มีสีเขียวจากต้นไม้ สีฟ้าจากท้องฟ้า และแสงแดดอ่อน ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้เป็นอย่างดีเชียวล่ะ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นความตื่นตัวและช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และพยายามเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ที่อาจทำให้ง่วงได้หากกินมากเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยพยายามนอนอย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อวัน
          อย่างไรก็ดีไม่อยากให้ทุกคนตื่นตูมว่าอาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจเพราะป่วยสักโรคใน 10 โรคที่กล่าวมา เพราะอย่างที่บอกว่า นอกจากหาวบ่อยแล้วยังต้องสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หรือถ้าจะให้ชัวร์ที่สุดคือต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยละเอียด ดังนั้นหากสงสัยอาการหาวบ่อยของตัวเองก็ควรปรึกษาแพทย์

ที่มา

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  horseng.com

สนับสนุนโดย  ufabet369